การตรวจรับบ้าน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างบ้าน โดยก่อนที่เราจะเซ็นรับโอนกรรมสิทธิ์ควรพิจารณาอย่างละเอียด เพราะหากหลังเซ็นรับโอนแล้ว การแก้ไขหลังจากนั้นอาจทำได้ยากขึ้น ดังนั้น ควรตรวจเช็กเพื่อให้มั่นใจว่าตัวบ้านนั้นสมบูรณ์
ซึ่งวิธีในการตรวจเช็กบ้านบางแสนสามารถทำได้ ทั้งการใช้บริษัทตัวแทนในตรวจ หรือสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยจะมีวิธีการเตรียมตัว และตรวจเช็กอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ความสำคัญของการตรวจบ้านด้วยตนเอง
การจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบบ้าน อาจช่วยประหยัดเวลาของผู้ซื้อ และมีความแม่นยำกว่าตามประสบการณ์ของผู้ตรวจ แต่วิธีการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มรายจ่ายให้กับผู้ซื้อ
ซึ่งข้อดีของการตรวจบ้านเองคือช่วยประหยัดเงินได้มากขึ้น แต่อาจต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษ เพื่อความถูกต้องตามแบบ โดยสามารถตรวจเช็กบ้านด้วยตนเอง ดังนี้
-
อุปกรณ์สำหรับตรวจเช็กบ้าน
เมื่อทางโครงการบ้านแจ้งการนัดหมายเพื่อเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งการไปตรวจรับรับบ้านควรไปอย่างน้อย 2 คน เพื่อความละเอียดและช่วยกันตรวจสอบ อีกทั้งควรเตรียมรายละเอียดของโครงการ และอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
-
โทรศัพท์ หรือกล้องถ่ายรูป: เพื่อบันทึกภาพหลักฐานจุดที่ควรซ่อม
-
ปากกา: ใช้สำหรับเซ็นสัญญา
-
ตลับเมตร: ใช้สำหรับวัดระยะตามแบบบ้าน
-
ไขควงวัดไฟ: ใช้ตรวจระบบไฟฟ้า
-
อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย: เช่นเทปกาว หรือปากกาที่สามารถลบได้
-
ขนมปังหรือกระดาษชำระ: สำหรับเช็กระบบชักโครก
-
ถังน้ำ: สำหรับตรวจการรั่วซึมของน้ำ
หลังจากเตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจบ้านบางแสน ต่อไปเป็นจุดแนะนำไว้เช็กลิสต์เพื่อเตรียมพร้อมรับบ้าน โดยวิธีการตรวจสอบควรตรวจไปทีละจุดจนกว่าจะมั่นใจ และไม่กลับไปตรวจในจุดเดิมอีกครั้ง
คู่มือเช็กลิสต์ตรวจบ้านบางแสนด้วยตัวเองเบื้องต้น
การเตรียมพร้อมเบื้องต้นก่อนเข้าตรวจบ้านบางแสน เพราะอาจเกิดอันตรายต่อตนเองได้ ดังนั้นความรู้ที่ต้องทราบคือ
- ระบบไฟฟ้า: ควรสวมถุงมือและรองเท้าที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า เพื่อป้องกันการโดนไฟดูด โดยเช็กว่าหลอดไฟมีความสว่าง ปลั๊กไฟ สายไฟ สายดิน และระบบไร้สายภายในบ้าน
- ระบบน้ำ: ควรตรวจสอบการไหลของน้ำทุกจุดภายในบ้าน โดยตรวจว่ามีจุดที่รั่วหรือล้นของน้ำ และการไหลของน้ำได้เป็นปกติ
- พื้น และผนัง: ตรวจวัสดุของพื้นและผนังนั้น ตรงกับที่โครงการแจ้งหรือไม่ และตรวจว่าได้รับการติดตั้งที่ถูกวิธี โดยเช็กด้วยการเคาะจะต้องไม่เกิดเสียง และไม่รอยร้าวปรากฏขึ้น
- ประตู และหน้าต่าง: ตรวจเช็กว่ามีความแข็งแรง และสามารถล็อคกรได้ปกติโดยไม่ติดขัด
โดยการตรวจสอบสามารถเช็กลิสต์ตั้งแต่รั้วบ้าน ไปจนถึงด้านหลังของบ้าน สามารถแบ่งหน้าที่กับอีกคน เพื่อลดการเกิดข้อผิดพลาดในการตรวจสอบน้อยที่สุด ดังนี้
-
พื้นที่หน้าบ้าน
ควรตรวจตั้งแต่ถนนหน้าบ้าน โดยพื้นถนนต้องเรียบไม่เป็นหลุมหรือบ่อ รวมถึงการตรวจสอบรั้วบ้านต้องแข็งแรง ไม่มีร่องรอยของการแตกหัก นอกจากนี้ สวนหน้าบ้านและโรงจอดรถ เป็นจุดที่ควรระวังปัญหาดินทรุดตัว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือท่อระบายน้ำภายนอกบ้าน จะต้องดูว่าน้ำที่ไหลออกจากตัวบ้าน จะไม่ไหลย้อนกลับเข้ามา และต้องมีฝาไว้เปิด-ปิด เพื่อดูสิ่งอุดตัน
-
โครงสร้างบ้าน
ควรเปรียบเทียบกับแปลนบ้าน เพื่อได้ทราบถึงรายละเอียดของตัวบ้านว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราควรเข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ก่อนเทปูนก่อสร้างบ้าน หากบ้านสร้างแล้วเสร็จ ควรเช็กว่าผนังและเพดานที่ก่อหรือติดตั้ง ตรงตามที่โครงการแจ้งหรือไม่ เพราะหากนานไปผนัง หรือเพดานที่ใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐาน อาจเกิดการหลุดร่อนและแตกร้าวได้
สำหรับหลังคาบ้านควรเช็กว่า สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำ จากฝนได้เป็นอย่างดีหรือไม่? และมีรางน้ำฝนที่ช่วยนำพาน้ำไปในจุดที่ต้องการ เพื่อไม่ให้กระเด็นเข้าไปในบ้านใกล้เคียง หรือในพื้นที่ไม่เหมาะสม
-
ภายในบ้าน
ในหัวข้อดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับเรื่องโครงสร้างของบ้าน โดยแต่ละจุดก็จะมีข้อสังเกตที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในงานประตูและหน้าต่าง ต้องเช็กว่าสามารถปิดได้สนิทหรือไม่ และต้องออกแรงมากกว่าปกติที่ใช้ เพื่อทดสอบความแข็งแรง
หากบ้านที่สร้างเป็นแบบ 2 ชั้น ควรเช็กว่าบันไดที่ติดตั้งมีขนาดเท่ากันหรือไม่ในแต่ละขั้น และวัสดุที่นำมาทำบันได ต้องไม่ลื่นจนเกินไป อีกทั้งกระเบื้องพื้นบ้านต้องได้รับการปูที่ถูกวิธี โดยไม่เป็นโพรงใต้กระเบื้อง และมีความเรียบเนียนในระนาบเดียวกัน
-
งานระบบไฟฟ้าและประปา
การเช็กไฟฟ้าตั้งเต้ารับ และสวิตช์ไฟว่าทำงานได้หรือไม่ จากนั้นตรวจสอบเบรกเกอร์ว่าสามารถตัดการรั่วไหลของไฟฟ้าภายในบ้านได้ อีกทั้งยังควรตรวจสอบสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องได้รับการติดตั้ง เช่น ตู้เย็น หรือเครื่องทำน้ำอุ่น เพื่อป้องกันการไฟฟ้าช็อตขณะใช้งาน นอกจากนี้ ควรดูความเรียบร้อยของการเดินสายไฟต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สายอินเทอร์เน็ต ,สายโทรศัพท์ และสัญญาณทีวี
หลังจากตรวจระบบไฟฟ้าเสร็จ การตรวจระบบน้ำในจุดต่าง ๆ ด้วยการเช็กว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ โดยจุดที่ต้องตรวจอย่างละเอียด คือ ถ้าห้องน้ำมีการแบ่งออกเป็นโซนเปียกและแห้ง ควรลองฉีดน้ำเช็กว่ามีน้ำรั่วซึมของน้ำไปอีกโซนหรือไม่ และตรวจสอบที่สุขภัณฑ์ในห้องน้ำว่ามีการไหลของน้ำปกติหรือไม่ เช่น อ่างล้างหน้า ฝักบัว เป็นต้น
อีกหนึ่งระบบที่บ้านปัจจุบันควรมีคือปั๊มน้ำ ,ถังน้ำดี ,บ่อพักน้ำเสีย และถังบำบัด ต้องมีการเคลื่อนของน้ำได้ปกติ โดยไม่มีสิ่งอุดตัน หรือเศษขยะที่ทำให้การทำงานติดขัด
-
รายละเอียดอื่น ๆ
นอกจากนี้ในบางโครงการ จะมีเฟอร์นิเจอร์แถมมากับบ้าน ที่มาในรูปแบบบิวท์อิน (Build-in) หรือเครื่องใช้ ควรตรวจสอบว่ามีการชำรุด และพร้อมสำหรับใช้งานหรือไม่ นอกจากนี้ปัจจัยในการสร้างบ้าน ควรตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อมรอบบ้าน และเรื่องควรรู้ก่อนอยู่อาศัย
หลังจากตรวจสอบบ้านเสร็จ ควรรวบรวมข้อมูลส่งเพื่อให้ช่างแก้ไข โดยการจดบันทึกควรมีรูปภาพประกอบ เพื่อไม่ทำให้ช่างเกิดความสับสน และแก้ไขซ่อมแซมได้ถูกต้อง สำหรับวิธีการตรวจบ้านก่อนเซ็นโอนกรรมสิทธิ์ อาจดูเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก แต่หากต้องการบ้านดี ๆ การทำเช็กลิสต์ก็อาจตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ และเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง หรือใครกำลังมองหาโครงการบ้านบางแสน สามารถสอบถามข้อมูล ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง เพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. 1610 หรือ Line: @lifeandlivingth