บ้านชลบุรี คุณภาพดี ก่อนที่จะเซ็นโอนรับเข้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ผู้ซื้อส่วนใหญ่มักจะเข้าไปตรวจบ้าน เพื่อเช็กสภาพความเรียบร้อยของโครงการ และงานระบบต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าการตรวจรับบ้าน ต้องเช็กอะไรบ้าง ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จะมาแชร์เช็กลิสต์ทั้งหมดที่ควรรู้ และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการตรวจรับบ้าน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนตรวจรับ บ้านชลบุรี คุณภาพดี ด้วยตัวเอง
- กล้องถ่ายรูป ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิทัล หรือกล้องโทรศัพท์มือถือก็ได้เช่นกัน เพื่อใช้ในการเก็บบันทึกภาพของบ้านในมุมต่าง ๆ
- แปลนบ้าน เพื่อให้เราได้รู้ตำแหน่งทุกห้อง ทุกมุมในตัวบ้าน และไล่ตรวจได้ครบทุกพื้นที่ หากคุณสามารถเตรียมผังที่ดินได้ก็ควรนำติดไป เพื่อที่จะได้ตรวจสอบผังที่ดินได้ด้วย
- ตลับเมตร เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะใช้ในการวัดความยาวของโครงสร้าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ควรเข้าไปตรวจสอบโดยการกะหรือประมาณด้วยสายตา แต่ควรใช้เครื่องมือในการวัด และจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
- กระดาษหรือสมุดจดบันทึก ใช้สำหรับจดบันทึกข้อมูล และประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเช็กลิสต์เพื่อไล่ตรวจสอบทีละส่วน รวมไปถึงการจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้
- ไขควงวัดไฟ เป็นอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่สำคัญมาก เพราะไว้ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
- ไม้บรรทัด เอาไว้ใช้ตรวจสอบ หรือวัดความยาวในระยะสั้นที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตลับเมตร นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบระนาบด้วยว่ามีความราบเรียบดีหรือไม่
- กระดาษโน๊ตกาว (Post it) ไว้สำหรับแปะกำกับจุดที่ต้องแก้ไข หรือต้องตรวจสอบเพิ่ม
จะตรวจรับบ้านชลบุรี คุณภาพดี ทั้งที ต้องมีเช็กลิสต์อะไรบ้าง ?
-
หลังคา
การตรวจสอบหลังคาด้วยตนเองคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหลายท่านอาจไม่ได้มีความชำนาญมากพอที่จะปีนขึ้นไปตรวจการติดตั้งกระเบื้องหลังคาด้วยตัวเอง แต่อย่างน้อยไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ก็มีวิธีที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบกระเบื้องหลังคาได้ เช่น การตรวจสอบฝ้าเพดานที่อยู่ด้านล่างหลังคาว่าติดตั้งได้สมบูรณ์ดีหรือไม่ ซึ่งฝ้าเพดานไม่ควรมีรอยแหว่ง ควรเรียบเสมอกันทุกแผ่น และกระเบื้องหลังคาให้ดูจากภายนอกเพื่อตรวจเช็กว่ากระเบื้องทั้งหมดนั้นปูไปในทิศทางเดียวกัน
หากเป็นการตรวจรับบ้านในช่วงฤดูฝน ก็ถือเป็นจังหวะที่ดีเพราะคุณสามารถตรวจว่าหลังคามีการรั่วซึมของน้ำหรือเปล่า ที่สำคัญห้ามลืมตรวจสอบการทาสี ว่ามีการทาสีที่เรียบเนียนสวยงามหรือไม่
-
ประตู
การตรวจสอบประตูเป็นส่วนที่ทำได้ง่าย โดยสิ่งที่จะตรวจควรไล่ตั้งแต่การทดลองเปิด-ปิดประตู เพื่อดูว่าบานประตูทำงานได้ดีหรือไม่ ตัวบานประตูมีการขูดกับพื้นหรือเปล่า ที่สำคัญคือการตรวจสอบวงกบของประตูว่ามีสปริง หรือเหล็กยื่นออกมาผิดปกติหรือไม่ หากทุกอย่างไม่ติดขัดแสดงว่าช่างติดตั้งมาได้เรียบร้อย และมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังสามารถนำวิธีนี้ไปตรวจเช็กกับประตูหน้าบ้าน ประตูห้องน้ำ ประตูห้องนอน รวมไปถึงประตูรั้ว
-
งานโครงสร้างบ้าน
การตรวจโครงสร้างบ้านเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันเรามักจะได้เข้าชมบ้านหลังจากที่บ้านเสร็จแล้ว ทำให้เราไม่สามารถเห็นได้ว่าโครงสร้างบ้านมีการก่อสร้างที่ดีหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็มีสิ่งที่เราสามารถตรวจสอบได้อยู่บ้าง เช่น ตัวโครงสร้างบ้าน ผนัง กำแพง และตัวเสาบ้าน ไม่ควรให้สิ่งเหล่านี้มีรอยร้าว หรือรอยแตกใด ๆ ไม่ควรมีการโป่งพองของพื้นบ้าน และไม่ควรมีความโค้งเอียงที่ผิดไปจากดีไซน์
-
ระบบไฟฟ้าทั้งภายในและภายนอก
การตรวจสอบระบบไฟฟ้า จุดแรกคือการตรวจเช็กว่าระบบไฟฟ้าทำงานได้ดีทั่วบ้านหรือไม่ ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองก็คือ ทดลองการเปิดไฟทุกจุดในบ้าน จากนั้นเดินไล่ดูให้รอบว่าทุกตำแหน่งสามารถเปิดไฟได้ และไม่มีการกะพริบไฟ
นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบเต้ารับสวิตช์ไฟด้วยว่าทำงานได้ครบถ้วนทุกจุดไหม โดยนำเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กลองไปเสียบไฟที่เต้าเสียบ เพื่อทดลองว่ามีการจ่ายไฟเข้าไปในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือไม่
-
ระบบน้ำ
การตรวจสอบระบบน้ำภายในบ้าน มีจุดประสงค์หลักคือดูการทำงานของงานประปาทั้งภายใน และภายนอกว่าทำงานได้ครบทุกจุดหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้จากทดลองการเปิดน้ำทุกก๊อกทั้งบ้าน เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำไหลได้แรง และไหลในปริมาณที่เพียงพอ
รวมไปถึงการทดลองใช้งานเครื่องสุขภัณฑ์ทุกตัวในบ้าน ที่สำคัญไม่ควรลืมตรวจสอบการทำงานของปั๊มน้ำว่าสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์หรือเปล่า
-
งานเหล็กและวัสดุอะลูมิเนียม
ตรวจสอบงานเหล็กในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ควรมีสนิม และควรมีการทาเคลือบสนิมในครอบคลุม เพื่อป้องกันปัญหาสนิมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โครงสร้างของงานเหล็กที่อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้านควรมีความแข็งแรง มีการติดตั้งตรงตามที่ดีไซน์เอาไว้
-
ฝ้า เพดาน
บ้านแต่ละหลังเมื่ออยู่อาศัยไปสักระยะ จุดที่มักเกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้งก็คือ ฝ้าเพดาน โดยเฉพาะหากเป็นบ้านที่มีการติดตั้งไม่เรียบร้อย ตรวจสอบมาไม่สมบูรณ์แต่แรก อาจนำมาซึ่งปัญหาหลายอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็น น้ำรั่วซึม มีสัตว์ตัวเล็กขึ้นไปอยู่บนฝ้าเพดาน หรือกรณีที่แย่ที่สุดคือ ฝ้าเพดานอาจถล่มลงมาได้ จึงควรตรวจสอบให้เรียบร้อยว่าถูกติดตั้งมาอย่างดีตั้งแต่ตอนตรวจรับบ้าน
-
ตรวจสอบผนัง
ควรตรวจสอบว่าผนังมีการฉาบปูนได้เรียบเนียนไหม ทาสีผนังได้กลมกลืนหรือไม่ ไม่ควรมีรอยแหว่งในการทาสี ไม่มีรู หรือรอยแตกบนผนัง หากเป็นผนังที่มีการปูกระเบื้องต้องทำการตรวจเช็กว่าช่างปูกระเบื้องได้เรียบร้อยดีหรือไม่
-
หน้าต่าง
การตรวจสอบหน้าต่างเป็นอีกข้อสำคัญที่หลายคนมักจะหลงลืม ต้องทำการตรวจโดยทดลองเปิด-ปิดหน้าต่าง เพื่อเช็กว่าหน้าต่างแต่ละบานสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล ไม่มีติดขัด เพราะจะแสดงให้เห็นถึงการติดตั้งที่มีคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
บันไดต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
การตรวจสอบบันไดบ้านสิ่งที่ต้องทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 อย่างคือ
-
ตรวจสอบราวบันได
ว่ามีการติดตั้งให้ใช้งานได้ง่ายหรือไม่ ตัวราวบันไดควรอยู่ในตำแหน่งที่จับถนัดมือ มีการติดตั้งที่แน่นหนา และแข็งแรง
-
ตรวจสอบพื้นบันได
สิ่งสำคัญคือบันไดแต่ละขั้นต้องสูงเท่ากัน วัสดุที่นำมาวางติดตั้งต้องเรียบสนิทไปกับพื้นของบันได เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน
สุดท้ายนี้ ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง หวังว่าทุกคนจะได้ทราบถึงเช็กลิสต์การตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง และสามารถนำไปใช้ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งการตรวจรับบ้านก่อนโอนมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้คุณได้รับบ้านชลบุรี คุณภาพดี ไม่ต้องมีปัญหากับการตามซ่อมในภายหลัง
ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง เรามีโครงการบ้านจัดสรรคุณภาพดี ให้เลือกมากมายหลายทำเล คุณสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้บ้านที่มีประสิทธิภาพ แข็งแรง และมีพื้นที่การใช้งานได้อย่างตอบโจทย์ทุกคนในครอบครัว หากสนใจเยี่ยมชม หรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้ที่ Line: @lifeandlivingth หรือ โทร.1610