บ้านใหม่พัทยา เป็นทำเลบ้านที่ได้รับความนิยมมายาวนานอย่างไม่มีตก เนื่องจากพื้นที่พัทยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะซื้อเพื่อการอยู่อาศัย แต่ก็มีบางส่วนที่ซื้อบ้านเดี่ยวในโครงการบ้านจัดสรร เพื่อนำไปปล่อยเช่าเช่นกัน

แต่ไม่ว่าคุณจะซื้อบ้านใหม่พัทยาด้วยเหตุผลอะไร การเลือกบ้านที่มีการก่อสร้างแข็งแรง ได้มาตรฐาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจอยู่ดี เพราะความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้คุณอยู่อาศัยอย่างมีความสุขได้อย่างแท้จริง ซึ่งในวันนี้ Life and Living ก็จะขอพาคุณไปทำความรู้จักความสำคัญของการตรวจรับบ้าน และวิธีตรวจรับบ้านง่ายๆ ด้วยตัวเองให้คุณได้รู้กัน

 

บ้านใหม่พัทยา

ความสำคัญของการตรวจรับบ้านใหม่พัทยา

การตรวจรับบ้าน เป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านจะได้ตรวจสอบข้อบกพร่องหรือจุดที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง เพราะหากเกิดการชำรุดจากการสร้างของผู้รับเหมาจนต้องซ่อมแซมหลังจากเซ็นรับบ้านไปแล้ว เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นเองทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า และเราเชื่อว่าไม่มีใครที่อยากเจออย่างแน่นอน

โดยการตรวจบ้าน จำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการตรวจเช็กทุกจุดในบ้าน รวมถึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการทดลองและตรวจสอบการใช้งานของระบบไฟฟ้าหรือระบบน้ำ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจจ้างบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจรับบ้านโดยเฉพาะมาจัดการเรื่องนี้ แต่ก็สามารถทำด้วยตัวเองได้เช่นกัน

 

4 จุดที่ต้องเช็กเมื่อตรวจรับบ้านด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจโอนซื้อบ้านใหม่พัทยา

  1. พื้นที่นอกตัวบ้าน

          พื้นที่นอกตัวบ้าน เป็นส่วนที่ทำให้ภาพรวมบ้านของคุณดูสวยงาม โดยจะรวมรายละเอียดที่อยู่นอกตัวบ้านเอาไว้ทั้งหมด ดังนี้

  • ประตูรั้ว

งานสีต้องทาเรียบร้อย ไม่เห็นเนื้อวัสดุหรือขึ้นสนิม หากเป็นบานพับ ต้องเปิด-ปิดได้สะดวกไม่ฝืด ถ้าเป็นบานเลื่อนจะต้องไม่เลื่อนไหลเอง กลอนประตูต้องสามารถบิดได้สะดวกไม่ฝืดเคือง

  • รั้วบ้าน

รั้วจะต้องตั้งขนานในระนาบเดียวกันทั้งแถว ไม่เอียง ไม่ล้ม และไม่มีรอยแตกร้าว สีที่ทาต้องเรียบเนียนสวยงาม ไม่มีคราบสกปรกจากการก่อสร้าง

  • พื้นที่สวน

บริเวณสนามหญ้าและพื้นที่สวน ต้องไม่มีเศษปูน หรือเศษวัสดุก่อสร้างปะปนอยู่ พื้นสนามต้องเรียบ ไม่มีหลุมบ่อ นอกจากนี้ หากมีการตกลงกับโครงการว่าจะปลูกหญ้าหรือต้นไม้บริเวณบ้านให้ ก็ต้องตรวจดูว่า ต้นไม้ที่นำมาลง มีการนำถุงพลาสติกออกหรือยัง 

  • การระบายน้ำ

ต้องตรวจสอบว่ามีรางระบายน้ำอยู่รอบที่ดินในจุดที่น้ำจะไม่ไหลย้อนกลับเข้าบ้าน โดยท่อระบายน้ำจะต้องมีบ่อพักและฝาเปิดเพื่อซ่อมบำรุงทุกระยะ 12 เมตร โดยสามารถตรวจสอบการระบายน้ำได้ ผ่านการฉีดน้ำเพื่อดูทิศทางการไหล หากเป็นช่วงที่ฝนตกก็จะดีมาก

  • ที่จอดรถ

พื้นผิวต้องเรียบสม่ำเสมอ และต้องก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ที่มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักรถยนต์ได้นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบความลาดเอียงให้อยู่ในองศาที่เหมาะสม โดยจะต้องสามารถระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำขังเมื่อฝนตกหรือล้างรถ

  • ผนังภายนอก

ไม่ว่าจะเป็นผนังรอบของตัวบ้าน หรือผนังของรั้วรอบบ้าน ก็จะต้องไม่มีรอยแตกร้าว การฉาบปูนและทาสีต้องเรียบเนียนสม่ำเสมอ 

     2.  โครงสร้างภายในบ้าน

          โครงสร้างบ้าน เป็นจุดที่เจ้าของบ้านต้องเช็กให้ละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้าง แต่สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการบ้าน ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ ก็สามารถดูรายละเอียดของโครงสร้างที่อาจมีข้อบกพร่องแทนได้ ดังนี้

  • เสาและคาน

เสาและคานต้องไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยแยกระหว่างเสากับผนัง

  • พื้น

พื้นกระเบื้อง ต้องปูให้เรียบเท่ากัน ไม่แอ่น ไม่บิ่น ควรตรวจสอบด้วยการเคาะกระเบื้องทุกแผ่น หากเคาะแล้วกระเบื้องสั่นหรือมีเสียงต่างจากแผ่นอื่น นั่นหมายถึงปูนกาวใต้กระเบื้องไม่แน่น 

  • ฝ้าเพดาน และหลังคา

ฝ้าเพดานต้องเรียบเท่ากัน ไม่แอ่นหรือโค้ง นอกจากนี้ยังควรตรวจการรั่วซึมของฝ้าเพดานและหลังคา รวมถึงเช็กความเรียบร้อยของการเดินสายไฟ ฉนวนกันความร้อน และคราบน้ำรั่ว โดยการปีนขึ้นไปดูเหนือฝ้า 

     3. ระบบน้ำ และสุขาภิบาล

         ห้องน้ำ เป็นพื้นที่ที่ต้องใช้น้ำมากที่สุด หากเกิดปัญหาน้ำรั่วซึม หรือระบบน้ำทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็คงจะทำให้การอาบน้ำของคุณเป็นเรื่องยาก และวุ่นวายพอสมควร โดยจุดที่ต้องเช็กมีดังนี้

  • ทิศทางการไหลของน้ำ

ควรฉีดน้ำทั้งในโซนเปียกและโซนแห้ง เพื่อสังเกตว่า ทิศทางของน้ำที่ไหล ตรงกับทิศทางที่ท่อระบายน้ำตั้งอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

  • ท่อระบายน้ำ

ต้องสังเกตว่า ท่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ในทันทีหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเอ่อล้น หรือน้ำท่วมเมื่ออาบน้ำ/ล้างห้องน้ำ โดยจะต้องเช็กทั้งท่อระบายน้ำบนพื้นโซนเปียก-แห้ง และอ่างล้างหน้า

  • ระบบท่อน้ำ

ระบบท่อน้ำต้องไม่มีรอยรั่วซึม เมื่อปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้ว มิเตอร์น้ำจะต้องไม่หมุน

  • ความแรงของน้ำ

เมื่อเปิดใช้ก๊อก ฝักบัว หรือกดชักโครก จะต้องมีความแรงน้ำที่พอดี สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกออกไปได้ น้ำต้องไหลสะดวกไม่เบาผิดปกติ

  • ถังน้ำดี บ่อพักน้ำเสีย ถังบำบัด ปั๊มน้ำ

ถังน้ำดี บ่อพักน้ำเสีย ถังบำบัด ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทั้งภายในและภายนอก ไม่มีเศษขยะอุดตัน ปั๊มน้ำต้องตรวจสอบว่าต่อสายดินเรียบร้อยหรือไม่ รวมถึงต้องสามารถทำงานได้ปกติ และไม่มีรอยรั่วซึม

      4. ระบบไฟฟ้า

          ระบบไฟฟ้า ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตรวจสอบ เพราะหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยในส่วนนี้ หากเจ้าของบ้านไม่มีความเชี่ยวชาญ ก็ควรจะสอบถามผู้ดูแลโครงการให้ละเอียด หรือจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า หรือบริษัทที่ให้บริการตรวจรับบ้าน มาช่วยดูแลและตรวจสอบ

  • สวิตช์ไฟ และเต้ารับ

ควรทดลองใช้งานสวิตช์ไฟทุกจุด ว่าสามารถเปิด-ปิดตามปกติ ในส่วนของเต้ารับ ต้องใช้เครื่องสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล (ELCB Tester) เพื่อทดสอบความถูกต้องของการเดินสายไฟ สายดิน และระบบตัดไฟ

  • ตู้ไฟ

ในขั้นตอนนี้ ควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบ โดยจะต้องดูทั้งวิธีการเดินสายไฟ สีและขนาดของสายไฟ รวมถึงคุณภาพของสายไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินให้กับเจ้าของบ้าน 

ได้ทราบ 4 จุดที่ต้องเช็กเมื่อตรวจรับบ้านด้วยตัวเองกันไปแล้ว ใครที่กำลังจะเซ็นรับบ้าน ก็อย่าลืมนำทั้ง 4 จุดนี้กลับไปตรวจจุดต่างๆ ในบ้านของคุณ เพื่อให้คุณได้บ้านที่แข็งแรง และได้มาตรฐานที่สุด 

สุดท้ายนี้ หากคุณกำลังมองหาบ้านใหม่พัทยา ที่ก่อสร้างได้มาตรฐาน แข็งแรง ปลอดภัย พร้อมพื้นที่ส่วนกลางครบครันให้คุณเลือกใช้งาน ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. 1060 หรือ Line@ : @lifeandlivingth

 

โครงการแนะนำ

Grand Valley สุขุมวิท-เลี่ยงหนองมน

Grand-Valley สุขุมวิท-หนองมน

ราคาเริ่มต้น 3.6 ล้านบาท

Life in The Garden โรงโป๊ะ

Life in The Garden โรงโป๊ะ

ราคาเริ่มต้น 2.9 ล้านบาท

Life บางละมุง

Life บางละมุง

ราคาเริ่มต้น 4.2  ล้านบาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง