บ้านพานทอง

โครงการ แฟมิลี่ ซิตี้ พานทอง นับเป็นหนึ่งในโครงการบ้านทาวน์โฮมบนทำเลที่ดีที่สุดของจังหวัดชลบุรี นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยแล้วยังเป็นที่รวมตัวของสมาชิกในครอบครัว เพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง ด้วยความท่ีบ้านพานทองเป็นโครงการบ้านที่ถูกออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน มีความโมเดิร์น และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

แต่การจะมีบ้านสักหลังหนึ่งในยุคปัจจุบันนี้ อาจเป็นเรื่องยากของใครหลายคน และจำเป็นต้องใช้การกู้ร่วมเข้ามาเป็นทางเลือกเสริมเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาซื้อบ้าน วันนี้ทาง ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการกู้ร่วม สำหรับคนอยากมีบ้านแต่ผ่อนชำระคนเดียวไม่ไหวมาฝาก ใครอยากลงหลักปักฐาน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไปติดตามอ่านกันได้เลย

การกู้ร่วมคืออะไร และมีข้อดีอย่างไรบ้าง

การกู้ร่วม คือ การทำสัญญาเงินกู้สินเชื่อร่วมกับบุคคลอื่น เป็นตัวเลือกในการช่วยกันรับผิดชอบชำระหนี้ให้ทันตามกำหนด ทั้งยังเป็นวิธีการที่ทำให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติกู้สินเชื่อได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการพิจารณาอนุมัติวงเงินสูงขึ้นด้วย สำหรับการกู้ร่วมจะต่างจากการค้ำประกัน โดยการกู้ร่วมนั้นต้องเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงเป็นครอบครัวเดียวกัน และต้องมีส่วนในการรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันด้วย

ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจะช่วยให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติการกู้ง่ายขึ้น ด้วยวงเงินกู้ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ความสำคัญของการกู้ร่วมยังช่วยกระจายความเสี่ยงในกรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งประสบปัญหาทางการเงิน ผู้กู้ร่วมก็จะมีส่วนช่วยในการรับผิดชอบหนี้สินที่มีร่วมกัน

อ่านก่อนตัดสินใจ กู้ร่วมซื้อบ้านพานทองต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านพานทอง ผู้กู้จำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของการกู้ร่วมก่อนที่จะตัดสินใจกู้ ซึ่งทาง ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการกู้ร่วมมาให้ลองศึกษากัน มีดังนี้

  • อาจเกิดเหตุสุดวิสัยระหว่างทำสัญญา

ในบางครั้งระหว่างการทำสัญญากู้ร่วม อาจมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น การหย่าร้างในกรณีขอกู้ร่วมกับคู่สมรส หรือปัญหาทางการเงินของผู้กู้ร่วม ทั้งนี้ก็มีข้อแนะนำในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดเกี่ยวกับการกู้ร่วมซื้อบ้านเกิดขึ้น โดยสามารถแก้ได้ด้วย 3 วิธีต่อไปนี้

1. ถอนชื่อสัญญาผู้กู้ร่วม

ข้อแนะนำประการแรกให้ผู้กู้ติดต่อธนาคาร และทำการตกลงกับคู่กู้ร่วมเรื่องการถือสินเชื่อต่อหลังแจ้งความประสงค์ขอถอนชื่อกู้ร่วม ซึ่งทางธนาคารจะประเมินความสามารถของผู้กู้ที่รับช่วงต่อว่าสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ ในกรณีของคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส จะต้องนำใบหย่าไปแสดงให้เจ้าหน้าที่ธนาคารดูด้วย

2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว

หากธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อกู้ร่วม วิธีแก้ปัญหาขั้นต่อมาคือการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อพิจารณาการกู้เดี่ยว ซึ่งในขั้นตอนการรีไฟแนนซ์มักจะถูกพิจารณาจากคุณสมดังต่อไปนี้เป็นส่วนใหญ่

2.1 รายได้ของผู้กู้
2.2 ยอดดาวน์ที่กู้ซื้อบ้าน
2.3 หนี้สินที่ผู้ต้องชำระต่อเดือน
2.4 ประวัติเครดิตบูโร หรือแบล็กลิสต์

3. ขายบ้านที่เคยกู้ร่วมกันมา

แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำสัญญากู้บ้านร่วมกับบุคคลอื่นที่ไม่แนะนำ แต่ก็ถือเป็นทางออกที่ตัดจบทุกปัญหาได้ดีที่สุด แต่ก็ต้องมีการตกลงเจรจากับคู่กู้ร่วมในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการขายบ้าน เช่น ค่าโอนบ้าน ค่าตรวจบ้าน หรือแม้แต่ค่าธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก้ผู้กู้ทั้งสองฝ่าย

  • การกู้ครั้งต่อไปจะทำได้ยากขึ้น

การกู้เงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มูลค่าสูง ย่อมทำให้สถานะทางการเงินของเราต่ำลง เนื่องจากผู้กู้มีภาระหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องชำระ จึงทำให้การขอสินเชื่อกู้ครั้งต่อไปกับทางธนาคารเป็นเรื่องที่ยากขึ้น เนื่องจากทางธนาคารจะมองว่าผู้กู้อาจไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ที่นอกเหนือจากที่เคยกู้ไปก่อนหน้านี้ได้แล้ว

  • ถูกเฉลี่ยสิทธิ์ลดหย่อนภาษี

ปกติการซื้อบ้านจะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท แต่ในกรณีที่กู้ร่วม สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะถูกหารเท่าตามจำนวนผู้กู้ร่วม เช่น กู้ร่วม 2 คน ก็จะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีคนละ 50,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นใครที่ต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีก็อย่าลืมคำนึงถึงเงื่อนไขข้อนี้ไว้ด้วย

  • ต้องกู้ร่วมกับคนในครอบครัวเดียวกันเท่านั้น

การกู้ร่วมซื้อบ้านจะทำได้เฉพาะบุคคลที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน คือผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน เช่น คู่สมรส พ่อแม่ พี่น้อง หรือลูก ในกรณีที่เป็นบุคคลสายเลือดเดียวกัน แต่เปลี่ยนนามสกุลในภายหลังต้องมีการแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน ส่วนคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน ต้องแสดงหลักฐานการสมรส เช่น รูปภาพงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร ฯลฯ

  • การกู้ร่วมไม่ใช่การหารหนี้เท่ากัน

การกู้ร่วมไม่ได้หมายความว่าผู้กู้ทุกคนจะต้องหารภาระในการชำระหนี้เท่ากัน แต่การกู้ร่วมเป็นการรับผิดชอบภาระหนี้ก้อนหนึ่งร่วมกันทุกคน ในกรณีผิดนัดชำระหนี้ หรือถูกยึดทรัพย์ ธนาคารที่อนุมัติให้กู้ร่วมจะสามารถเรียกชำระหนี้จากผู้กู้ร่วมคนใดก็ได้

  • หากผู้กู้ร่วมเสียชีวิตต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต ผู้กู้คนอื่นต้องแจ้งธนาคาร เพื่อให้ทางธนาคารพิจารณาหาทายาท หรือผู้จัดการมรดกที่สามารถชำระหนี้ได้ เข้ามารับช่วงชำระหนี้ต่อจากผู้กู้ร่วมที่เสียชีวิตไปแล้ว

  • ตัวเลือกความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

ในการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้าน สามารถเลือกใส่ชื่อบุคคลเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ได้ แต่หากทำเช่นนั้นทางผู้กู้ร่วมรายอื่นจะไม่มีสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมจึงควรใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากมีการขาย หรือโอนก็จะต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้บอกไว้ข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้กู้จะต้องหาผู้กู้ร่วมซึ่งเป็นบุคคลที่ไว้ใจได้ และวางแผนอนาคตร่วมกันมาแล้วอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เหมือนกับการเลือกซื้อบ้านที่จะต้องเลือกสรรอย่างพิถีพิถัน เพราะบ้านถือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่จะต้องลงหลักปักฐานไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว

ดังนั้น หากใครกำลังมองหาตัวเลือกบ้านทาวน์โฮมดีไซน์สวย ตั้งอยู่ในพื้นที่ทำเลทอง สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แนะนำว่าบ้านพานทองถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมโครงการแฟมิลี่ ซิตี้ พานทอง สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. 1610 หรือ Line: @lifeandlivingth

บ้านพานทอง

บทความที่เกี่ยวข้อง