เรื่องต้องรู้!! ตรวจรับ บ้านชลบุรี

ก่อนที่จะเซ็นโอนรับ บ้านชลบุรี เข้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง คุณควรเข้าไปตรวจรับบ้านเองอย่างละเอียด และถี่ถ้วน เพื่อตรวจเช็กความเรียบร้อยของโครงสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่มั่นใจว่า การตรวจรับบ้านต้องตรวจอะไร และมีอะไรต้องเช็กบ้าง วันนี้ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จะมาแชร์เรื่องควรรู้ก่อนตรวจรับ บ้านชลบุรี ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมอุปกรณ์ในการตรวจบ้านอย่างไรบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

อุปกรณ์สำคัญที่ต้องเตรียมก่อนตรวจรับ บ้านชลบุรี มีอะไรบ้าง? 

ก่อนจะเข้าไปตรวจบ้านก็ต้องมีการเตรียมพร้อมอุปกรณ์ไปให้ครบ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบ และทำเครื่องหมายจุดที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาให้กับทางโครงการได้อีกด้วย โดยอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวไป มีดังนี้

  • แปลนบ้าน

แปลนบ้าน ทำให้คุณรู้ตำแหน่งทุกห้องของบ้าน และสามารถไล่ตรวจได้ครบทุกพื้นที่ หรือถ้าเตรียมผังที่ดินไปได้ก็ควรนำไปด้วย เพราะจะได้ตรวจสอบผังที่ดินไปพร้อม ๆ กัน

  • ตลับเมตร

ตลับเมตร เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะใช้ในการวัดความยาวของโครงสร้าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยไม่ควรเข้าไปพูดคุยด้วยการประมาณ แต่ควรใช้เครื่องมือในการวัด และจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

  • กระดาษ หรือสมุดจดบันทึก

กระดาษ หรือสมุดจดบันทึก ใช้เพื่อบันทึกข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการพูดคุย หรือสอบถาม และไล่ตรวจสอบทีละส่วนจากสิ่งที่จดไว้ รวมไปถึงจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบบ้านส่วนต่าง ๆ เอาไว้

  • Post It

Post It หรือสติกเกอร์ เพื่อใช้แปะกำกับจุดที่ต้องการแก้ไข หรือต้องการตรวจสอบเพิ่มเติม

  • กล้องถ่ายรูป

คุณควรเตรียมกล้องถ่ายรูป หรือจะเป็นกล้องจากโทรศัพท์ก็ได้เช่นเดียวกัน เพื่อใช้สำหรับการเก็บบันทึกภาพในมุมต่าง ๆ 

  • ไขควงวัดไฟ

ไขควงวัดไฟ อุปกรณ์เล็ก ๆ แต่มีความสำคัญมาก เอาไว้ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้าน โดยแนะนำให้ศึกษาวิธีใช้งานให้ดี หรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ ทั้งนี้ต้องใช้ไขควงวัดไฟอย่างระมัดระวัง และนึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ทุกครั้งที่ต้องการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ควรสวมถุงมือยางไว้ตลอด เพื่อใช้เป็นฉนวนป้องกันไฟ

  • ไม้บรรทัด

ไม้บรรทัดเอาไว้ใช้วัดความยาวในระยะสั้น ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตลับเมตร นอกจากนี้ไม้บรรทัดยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบระนาบ ว่ามีความราบเรียบหรือไม่

เช็กลิสต์เรื่องที่ต้องรู้ก่อนตรวจรับ บ้านชลบุรี 

และแล้วก็มาถึงขั้นตอนการตรวจรับ บ้านชลบุรี แนะนำให้ตรวจเป็นห้อง ๆ โดยเริ่มจากประตูหน้าบ้าน ไปจนถึงห้องที่อยู่ด้านในสุด โดยไล่สายตาจากพื้นไปจนถึงเพดาน วิธีนี้แนะนำให้ช่วยกันตรวจหลายคน เพื่อจะได้ไม่พลาดรายละเอียดจุดใดจุดหนึ่งไป ที่สำคัญควรถ่ายรูป และจดบันทึกไว้เสมอหากมีจุดไหนต้องการแก้ไข ซึ่งรายละเอียดในการตรวจรับบ้าน มีดังนี้

  • บริเวณนอกบ้าน

ตรวจสอบบริเวณนอกบ้าน อาทิเช่น ประตูรั้ว ดินถมรอบบ้าน สวน ระบบสระน้ำ ที่จอดรถ ทางเดินนอกบ้าน และการระบายน้ำ โดยไล่ตรวจตั้งแต่ประตูรั้วว่า มีการก่อสร้างที่แข็งแรง สามารถใช้งานได้ปกติ และมีความปลอดภัยดีหรือไม่ 

ขั้นตอนถัดไปมาดูในส่วนของการจัดสวนรอบบ้านว่า งานระบบในสวนสามารถใช้งานได้ปกติ และต้นไม้ที่ปลูกเป็นต้นไม้ที่ย้ายมาอย่างถูกต้อง รวมไปถึงสำรวจความเรียบร้อยของการถมดิน การปลูกหญ้า และการจัดการน้ำของระบบสระน้ำ และสระว่ายน้ำใช้งานได้ปกติ ไม่มีสิ่งอุดตัน สุดท้ายเช็กเรื่องการระบายน้ำว่า สามารถระบายน้ำจากในบ้านไปยังนอกบ้านได้ดี และไม่มีปัญหา

  • งานโครงสร้าง

การตรวจสอบงานโครงสร้าง อย่าง เสา คาน ผนัง และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคาร โดยขั้นตอนนี้แนะนำให้เข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการสร้าง เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างภายในก่อนเทปูน ทั้งนี้หากเป็นบ้านที่ก่อสร้างเสร็จแล้วให้ตรวจสอบด้วยการสังเกต โดยเฉพาะส่วนของโครงสร้างที่ต้องมีความแข็งแรง และได้มาตรฐาน ไม่มีรอยร้าวที่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง ผนังไม่มีการล้มเอียง หรือคานโค้งงอที่ทำให้ดูไม่ปลอดภัย

ถัดไปในส่วนของงานพื้น ได้แก่ การตรวจสอบโครงสร้างพื้น การตรวจสอบวัสดุปูพื้น และการเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้องตามการใช้งาน โดยการตรวจโครงสร้างพื้นต้องตรวจสอบด้วยการเคาะ หรือทดลองเดินให้ทั่วว่า ปูนใต้วัสดุปูพื้นต้องแน่น ไม่เป็นโพรง และต้องมีการเทปรับระดับก่อนการปูวัสดุ

สุดท้ายของงานโครงสร้างคือ การตรวจสอบวัสดุปูพื้นว่าพื้นแต่ละประเภทต้องปูได้ถูกต้องตามวิธีการ วัสดุพื้นปูได้เรียบเนียน ลายวัสดุพื้นถูกต้อง ไม่มีคราบสกปรก หรือคราบปูนติดตามวัสดุปูพื้น และต้องมีการทายาแนวที่เรียบร้อย ดูสวยงาม และไม่เสี่ยงต่อการรั่วซึมสำหรับวัสดุพื้นกระเบื้อง รวมไปถึงตรวจสอบว่าใช้วัสดุปูพื้นถูกต้องหรือไม่

  • งานผนัง

การตรวจสอบการฉาบผนัง การตรวจสอบวัสดุปูผนัง และการตรวจสอบบัวเชิงผนังบัวพื้น ผนังปูนต้องฉาบได้เรียบเสมอกัน ไม่มีส่วนไหนปูด หรือเป็นหลุม โดยใช้ไม้ยาววางทาบเพื่อดูระนาบ และไม่มีรอยร้าว นอกจากนี้ควรสอบถามกับทางโครงการ หรือผู้รับเหมาว่าใช้วัสดุก่อผนังเป็นอะไร เพราะหากใช้ผิดประเภทไปนาน ๆ ผนังปูนจะหลุดร่อน และแตกร้าวต่อไปได้

ถัดไปเป็นการตรวจสอบวัสดุปูผนัง หรือผนังทาสี โดยดูการติดตั้งวัสดุปูผนังต้องปูได้เรียบสม่ำเสมอถูกต้องตามวิธีการติดตั้ง ไม่มีคราบสกปรก หรือคราบปูนเกาะติด ในกรณีที่ผนังเป็นสีให้ตรวจสอบการทาสีว่า ทาได้เรียบเนียน และสม่ำเสมอ หากมีการแก้ไขหลายครั้งไม่ควรให้ช่างทาสีทับเกิน 5 ครั้ง เพราะอาจทำให้สีหลุดร่วงได้ 

  • งานประตู และหน้าต่าง

การตรวจสอบการติดตั้งวงกบ และการตรวจสอบประตู หน้าต่าง โดยวงกบต้องติดตั้งได้เรียบร้อยแนบติดกับผนัง วงกบต้องไม่มีรอยบิ่น มีการทำบังใบเรียบร้อย เมื่อปิดประตูบานต้องเรียบสนิทกับวงกบ และควรสอบถามว่ามีการทำเสาเอ็นรอบวงกบหรือไม่ เพราะหากไม่ทำมักจะเกิดรอยร้าวเป็นแนวเฉียงที่ผนัง ส่วนการตรวจสอบประตู และหน้าต่าง ให้ตรวจสอบการใช้งานส่วนตัวของบานว่า เป็นของใหม่ ไม่ชำรุด ไม่มีรอยเปื้อน ถ้าเป็นบานกระจกต้องดูว่าไม่มีรอยแตก การติดตั้งแน่นหนากับตัวบาน และตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ที่ล็อก บานพับ และลูกบิด ว่าทำงานได้ดีหรือไม่ โดยทดสอบจากการใช้งานซ้ำ ๆ แนะนำให้ออกแรงมากกว่าปกติ เพื่อเช็กความแข็งแรง

  • งานบันได

การตรวจสอบวัสดุปูพื้นทำขั้นบันได และการติดตั้งราวบันได โดยตรวจสอบความเรียบร้อยของการก่อสร้างบันได โดยบันไดแต่ละชั้นต้องมีขนาดเท่ากัน มีการเก็บงานเรียบร้อย และวัสดุที่นำมาใช้เป็นขั้นบันไดควรเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น ส่วนการติดตั้งราวบันไดต้องมีการติดตั้งที่ความสูงถูกต้อง จับถนัดมือ และราวบันไดต้องติดตั้งไว้อย่างแน่นหนา ไม่โยกไป-มา

  • งานฝ้าเพดาน

การตรวจสอบการติดตั้งฝ้าเพดาน โดยฝ้าเพดานมีหลายประเภท หากเป็นฝ้าเพดานทีบาร์ เส้นทีบาร์ต้องเรียบสม่ำเสมอ รอยต่อไม่เกยกัน แผ่นกระเบื้องซีเมนต์ที่ใส่ในช่องต้องมีขนาดเท่ากัน เมื่อวางเรียงแล้วไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่นกั้นกับเส้นทีบาร์ แต่ถ้าเป็นฝ้าเพดานแบบยิปซัมบอร์ดฉาบเรียบ บริเวณรอยต่อของแผ่นต้องไม่เห็นรอยยาแนว ควรเรียบเสมอไปกับฝ้า และเพดานส่วนอื่น ๆ 

  • งานหลังคา

การตรวจสอบการปูกระเบื้องหลังคา การตรวจสอบการรั่วซึม และการตรวจสอบวัสดุฝ้าเพดานที่ใช้ภายนอก สิ่งสำคัญคือหลังคาต้องปูได้เรียบร้อย และไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม ซึ่งการตรวจสอบปัญหาการรั่วซึมต้องรอฝนตก เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมอาจส่งผลต่อเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ทำให้เกิดความเสียหายอีกมากมายตามมา นอกจากนี้ต้องปีนขึ้นไปดูใต้ฝ้า เพื่อเช็กว่ามีส่วนใดของกระเบื้องปูไม่เรียบร้อย และมีน้ำขังบนฝ้าเพดานหรือไม่ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ภายนอกต้องเป็นวัสดุชนิดกันความชื้น

  • งานระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้า แสงสว่าง และอุปกรณ์ การตรวจสอบไฟฟ้าในระบบ สามารถทำได้โดยทดลองเปิดไฟทั้งบ้าน ดูว่ามีส่วนไหนไม่ติด หรือมีแสงสว่างออกน้อยผิดปกติ และดูเรื่องการติดตั้งหลอดไฟ การติดตั้งเต้าเสียบเต้ารับ และการเดินสายไฟว่ามีการก่อสร้างที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ เก็บงานดี และไม่มีคราบสกปรกติดตามอุปกรณ์ ในส่วนของงานระบบไฟฟ้า ระบบอินเทอร์เน็ต หรือการเดินสายไฟบนฝ้าเพดาน ทั้งหมดนี้ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

  • งานสุขาภิบาล

การตรวจสอบสุขภัณฑ์ การตรวจสอบงานระบบน้ำ และการรั่วซึม ให้เริ่มจากการตรวจสอบระบบน้ำประปา หรือระบบปั๊มน้ำต่าง ๆ ว่ามีการทำงานปกติหรือไม่ นอกจากนี้ให้ลองเดินตรวจตามท่อน้ำต่าง ๆ ว่ามีร่องรอยน้ำรั่วหรือไม่ และตรวจสอบการทำงานของมิเตอร์น้ำ โดยให้ลองปิดน้ำทั้งบ้าน และดูว่าตัวเลขยังหมุนอยู่หรือไม่ หากตัวเลขยังหมุนอยู่แสดงว่ามีจุดรั่ว

ถัดไปเป็นการตรวจสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ว่ามีสภาพสมบูรณ์ภายหลังติดตั้งหรือไม่ และต้องทำงานได้ปกติ ไม่มีรวยขีดข่วนมากเกินไป ไม่มีการรั่วซึม และตรวจสอบระบบท่อน้ำทิ้งว่ามีการต่อท่อได้ดี ไม่มีการรั่วซึม อาจจะลองขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า หรือขังน้ำไว้ในห้องน้ำ เพื่อทดสอบการระบายน้ำ หรือการรั่วซึม

สุดท้ายนี้ทุกคนก็ได้ทราบถึง สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตรวจรับ บ้านชลบุรี ว่ามีอะไรต้องเตรียม และมีขั้นตอนการตรวจอย่างไรบ้าน นอกจากนี้ใครที่สนใจอยากเยี่ยมชมโครงการบ้านจาก ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านพัทยา บ้านชลบุรี หรือบ้านระยอง สามารถสอบถามเพิ่มเติม โดยติดต่อได้ที่เบอร์ 1610 หรือ Line: @lifeandlivingth

ตรวจรับ บ้านชลบุรี

บทความที่เกี่ยวข้อง